พระพุทธศาสนาในไทย
   วันสำคัญทางศาสนา
   พระธรรมคำสอน
   บทสวดมนต์
   หนังสื่อธรรมะ
   ประวัติวัดบางโพ
   ความเป็นมาของวัด
 
   ธรรมจักร
   ฟังธรรมดอทคอม
   พลังจิตดอทคอม
   ลานธรรมเสวนา
   ธรรมเดลีเวอรี

กลับหน้าแรกของเว็บครับ

 

บทสวดมนต์

คำสวดทำวัตรเช้า

หมายเหตุ
คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี
เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า

โย โส ภะคะวา อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
สาธุ โน ภันเต  ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ  (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ        (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ   (กราบ)
(เฉพาะแบบธรรมยุต-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ)
ปุพพภาคนมการ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พุทธาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวา โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง
สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง
มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง
ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ (กราบ)

ธัมมาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ (กราบ)

สังฆาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ (กราบ แล้วนั่งราบ)

รตนัตตยัปปณามคาถา
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย
มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัญญิโต
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง
วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง
มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา

สังเวคปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ
ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
เสยยะถีทัง
รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ
สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ
เยสังปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา
เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ
อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา
สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา
รูปัง อะนัตตา เวทะนา อะนัตตา สัญญา อะนัตตา
สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา
สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง
ภะคะวันตัง สะระณังคะตา
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
สา สา โน ปะฏิปัตติ
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
*จบทำวัตรเช้า แต่อาจต่อด้วยคาถากรวดน้ำตอนเช้าดังนี้ (มีข้อสังเกตุว่ามีหลายสำนวนด้วยกันและจะไม่เหมือนกัน)

สัพพปัตติทานคาถา (กรวดน้ำระลึกพระคุณ)
(ผู้นำสวดเริ่มว่า หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส)
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม
เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกะ
เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย
ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐิ วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน
สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เต ภุมมา จะตุโยนิกา
ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง
เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะ เหตุนา
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา

(จบแล้วกล่าวเพิ่มว่า)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
คะรุอุปัชฌายะอาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
คำสวดทำวัตรเย็น

หมายเหตุ คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี
เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ  (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ        (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ   (กราบ)
(เฉพาะแบบธรรมยุติ-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ)
ปุพพภาคนมการ
(แบบธรรมยุตผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ อภิคายิตุง ปุพพะภาคะ นะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส)
(แบบมหานิกายผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ      (ว่า ๓ จบแล้วกราบ 3 ครั้ง)
พุทธานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า  หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง
เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน     สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง    พุทโธ ภะคะวาติ
พุทธาภิคีติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต
โพเธสิ โย สุชะนะตังกะมะลังวะ สูโร
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ปะฐะมานุสสติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ   พุทโธ เม สามิกิสสะโร
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ  วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ   พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง         พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ     วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ  (มานายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะระยา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

(หมอบกราบแล้วสวดดังนี้ หนึ่งครั้ง)
กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะพุทเธ
ธัมมานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
ธัมมาภิคีติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
ธัมมัง เมวันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

(หมอบกราบแล้วสวดดังนี้ หนึ่งครั้ง)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม
สังฆานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อายุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
สังฆาภิคีติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

(หมอบกราบแล้วสวดดังนี้ หนึ่งครั้ง)
กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
คำอาราธนา และคำถวายทานต่างๆ


คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง  ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้โดยชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์

คำอาราธนาศีล
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)

คำอารธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
(ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้โรคทั้งปวงพินาศไป)

คำอาราธนาพระสีวลี
สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต
โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี จะ มะหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต
โส ระโห ปัจจะยา ทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี เถระคุณัง เอตัง สวัสดิลาภัง ภะวันตุ เม

คำถวายพระพุทธรูป
อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปแด่พระภิกษุสงฆ์
ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายข้าวพระพุทธ
อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยโภชนะข้าวสาลี พร้อมด้วยแกงกับและน้ำอันประเสริฐนี้แด่พระพุทธเจ้า)

คำลาข้าวพระพุทธ
เสสัง มังคะลัง ยาจามิฯ
(ข้าพเจ้าขอคืนเศษอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้าขอภัตต์ที่เหลือที่เป็นมงคลด้วยเถิด)

คำถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ
อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา
(ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพานที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ)

คำจบทาน
อิทัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ
(ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้สิ้นอาสวะกิเลส)
อิทัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ
(ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สวรรค์สมบัติ ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค์สิ่งใด ขอจงสมความปรารถนา ทุกประการ อันว่าโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจนค่นแค้น และคำว่า "ไม่มี" ขออย่าให้ข้าพเจ้าประสบพบเลย)

คำกรวดน้ำ
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหตุ ญาตโย
(ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายจงมีความสุขกายสุขใจเถิด)

คำจบเงินทำบุญ
ทรัพย์ของข้าพเจ้านี้ได้มาโดยบริสุทธิ์ ขอบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยจิตจำนง ตรงต่อพระนิพพาน ขอให้ถึงเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้พบพระศรีอารย์ ในอนาคตกาลเทอญ

คำภาวนาก่อพระเจดีย์ทราย
อิมัง วาลุกัง เจติยัง อะธิฏฐามิ

คำอธิษฐานเวลาปิดทองลูกนิมิต
ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต อุโบสถ ทศพล เริ่มลูกต้น กลางโบสถ์ โชติตระการ
เป็นนิมิต ลูกเอก เสกประสาท งามโอภาส มาศเฉลิม เสริมสัณฐาน เป็นนิมิต เตือนตา สาธุการ ท่ามกลางงาน บุญพิธี ผูกสีมา
เกิดชาติหน้า อย่ารู้เข็ญ ได้เป็นใหญ่ รูปวิไล เป็นเสน่ห์ ดังเลขา ปิดนิมิต ลูกทิศ บูรพา ให้ก้าวหน้า เกียรติยศ ปรากฏไกล
ปิดนิมิต ลูกทิศ อาคเนย์ ขอให้เท- วาประสิทธิ์ พิสมัย ปิดนิมิต ทิศทัก- ษิณศักดิชัย ให้สมใจ สมบัติ วัฒนา
ปิดนิมิต ลูกทิศ หรดี ขอให้ชี- วิตมั่น ชันษา ปิดนิมิต ทิศประจิม อิ่มอุรา ปรารถนา ใดได้ ดั่งใจปอง
ปิดนิมิต ทิศพายัพ ดับทุกข์โศก นิราศโรค นิราศภัย ร้ายทั้งผอง ปิดนิมิต ทิศอุดร กรประคอง ได้เงินทอง สมหมาย ทุกรายการ
ปิดนิมิต ทิศอีสาน ประการท้าย ให้สมหมาย ได้สุข ทุกสถาน รวมเก้าลูก สุกใส ใจเบิกบาน กว่าจะถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อนั้น เทอญ
-โดยธรรมสาธก-

คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิเจ้าที่
นะโม เม พระภูมิเทวานัง ธูปะทีปะ จะ ปุปผัง สักการะ วันทานัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ สันติเทวา มะหิทธิกา เตปิ  อัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

คำลาเครื่องสังเวยพระภูมิเจ้าที่
อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะสีละ เนกขัมมะปัญญา สะหะวิริยะ ขันตี สัจจาธิฏฐานะ เมตตุเปกขายุทธายะโว ทิสสาวินะติ อะเสสะโต

คำบูชาพระภูมิด้วยดอกไม้ธูปเทียนหรือพวงมาลัย
ภุมมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภุมมา มะหิทธิกา เตปิ อัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

คำถวายของใส่บาตร
อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิขูนัง นยาเทมิ สุทินัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะ
(ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ)
หรืออาจกล่าวเป็นภาษาไทยเวลาจบขันข้าวใส่บาตรดังนี้
ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ถวายแด่พระสงฆ์ จิตใจจำนง ตรงต่อพระนิพพาน

คำถวายสังฆทาน
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารทั้งหลาย เหล่านี้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะ ทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ทุติยัมปิ ...(อารธนาศีลห้า)
ตะติยัมปิ ...
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และเมื่อรับแล้ว ขอจงกรานใช้กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้าป่า
อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆารัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิษุสงฆ์ ขอพระภิษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ มะยัง ภันเต
วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้าไตร
อิมานิ มะยัง ภันเต
ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์
ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายหนังสือธรรมะ
อิมานิ มะยัง ภันเต ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ
(ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อมรรคผล นิพพาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ สิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายข้าวสาร
อิมานิ มะยัง ภันเต ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายยาพระสงฆ์
อิมานิ มะยัง ภันเต คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ
อิมานิ คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายยาบำบัดความป่วยไข้ กับทั้งเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับยาบำบัดความป่วยไข้ และเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ญาติทั้งหลาย มีมารดาและบิดาเป็นต้นด้วย สิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายเสนาสนะ สร้างกุฏิ วิหารให้สงฆ์
อิมานิ มะยัง ภันเต เสนาสะนานิ อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ เสนาสะนานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

 
คำภาวนาเวลารดน้ำศพ
กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง สัมพะปาปัง วินัสสะตุ
(กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ขอให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยเทอญ)

คำภาวนาเวลาเผาศพ
อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ภาวี เอวัง ธัมโม เอวัง อะนะตีโต
(กายของเรานี้ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน มีอย่างนี้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้)
(แบบที่ ๒) อะสุจิ อะสุภัง กัมมัฏฐานัง ภาเวติ
(แบบที่ ๓) จุติ จุตัง อะระหัง จุติ

คำภาวนาเวลาทอดผ้าหน้าศพให้พระบังสุกุล
นามะรูปัง อะนิจจัง นามะรูปัง ทุกขัง นามะรูปัง อะนัตตา
(นามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)

คำถวายผ้าไตรอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
อิมานิ มะยัง ภันเต ติจีวะรานิ อัยยัสสะ เทมะ สาธุ โน ภันเต อะยัง ติจีวะระปูชาวิปาโก อัมหากัง มาตาปิตุอาทีนัง ญาตีนัง กาละกะตานัง สังวัตตะตุ อัมหากัง มาตาปิตุอาทะโย ญาตะกา ทานะ ปัตติง ละภันตุ อัมหากัง เจตะสา
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายไตรจีวรนี้แก่พระผู้เป็นเจ้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ อันว่าผลวิบากของการบูชาด้วยไตรจีวรนี้ จงเป็นไปเพื่อญาติทั้งหลาย มีมารดาบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นต้น จงได้ส่วนแห่งทานนี้ตามความประสงค์ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลายเทอญ)

................

ข้อมูลจาก ศาลาธรรม
www.salatham.com
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ
เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ
เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ
- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )
- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )
- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )
- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )
- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )

- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )
- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )
- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์
- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง
โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ

( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ

1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง

2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ

3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
นิมมานะระ*ง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ปะระนิมมิตะวะสะวัต*ง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ
อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

..........................................................................................
จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
อานิสงส์พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณ ได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วแต่มีสิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ

        พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านี้ จากนั้นเป็นอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษ ตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนา พระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้
อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร
        ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้นเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนาดังคำโบราณว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
สมเด็จฯ แปลคติธรรมในท่านั่ง
         จากท่านั่งของสมเด็จฯ ที่กำมือทั้งสองไว้ระหว่างอกนั้น เป็นการสร้างปริศนาให้ท่านที่มีความเคารพและศรัทธาในองค์ท่านได้ขบคิดปริศนาธรรม ทำไมท่านทำท่าเช่นนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ปริศนาธรรมนี้มีความหมายอยู่ 2 ประการ สองมือที่กำซ้อนกันอยู่นั้น หมายถึงกรรม 2 อย่าง คือ กรรมดี และกรรมชั่ว การที่ท่านอยกขึ้นไว้ใกล้กับหัวใจนั้น หมายถึงใจเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้นมา ฉะนั้น การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา และใจ ต้องใคร่ครวญเสียก่อนว่า ที่จะทำ จะพูด จะคิดนั้น ถูกหรือผิด จะดีหรือจะชั่ว ต้องมีสติ อย่าปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตใจ คิดและใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและสมควร

         คติธรรมที่สมเด็จฯ ประทานไว้ในท่าที่นั่งของท่านนี้ จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่สาธุชนผู้นำไปปฏิบัติ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัวและแก่สังคม

หมายเหตุ: คำแนะนำทั้งหมดสำหรับผู้ที่มีความศรัทธามั่นคงใน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจประพฤติตัวอยู่ในศีล ผู้นั้นก็จะได้รับความสุขและรอดพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ นอกจากว่าจะเกิดจากกรรมในอดีต ส่งผลมาถึงท่านก็ช่วยให้หนักเป็นเบาได้ ขอให้ทำเป็นประจำ และช่วยกันเผยแพร่ต่อ ๆ ไปด้วยเป็นการเพิ่มกุศลให้กับตนเอง

         ตอนก่อนจะออกจากบ้านทุกเวลา ให้พนมมือ สวดนะโม… 3 จบแล้วว่า “ชินะปัญชะระปะริตตังมัง รักขะตุ สัพพะทา” 3 จบ “ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า ตลอดเวลาทุกเมื่อ
พระคาถาชินบัญชร

คาถาบูชาสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ
...................
พระคาถาชินบัญชร
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้นก่อนเจริญภาวนาชินบัญชรตั้งนะโม 3 จบก่อน แล้วระลึกถึง
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง
สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล
จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ
ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเก
เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุต
ตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะ
กัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลัง
กาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ
ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ
ชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.

คำแปลชินบัญชร
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
มี 28 พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก.
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่หูซ้าย
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ๋
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
พระขันธปริตร พระโมรปริตรและพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล
ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)

(๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมาะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๒) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
(๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

(๕) กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๘) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

(๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก  ต้นฉบับเดิม
คำนำ
        หนังสือเล่มที่ท่านอ่านอยู่ขณะนี้ ได้อ่านแล้วทำให้เกิดจากแรงบันดาลใจ อยากจะเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้อ่าน รับรู้และเข้าใจ จึงได้นำหนังสือนี้มาปรึกษาพระคุณเจ้าว่า ใคร่จะพิมพ์เผยแพร่ต่อไป จะได้หรือไม่ พระคุณเจ้าได้บอกว่า นับเป็นธรรมทานที่ยากยิ่ง ก่อให้เกิดสุขโดยทั่วและยาวนาน จึงเป็นจุดเร่งความคิดผลิดหนังสือเล่มนี้ให้สู่ท่านทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งความตั้งใจที่ได้สร้างหนังสือนี้ ขอให้ผลบุญนี้ ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความสุข มีความเจริญและประสบผลสำเร็จในสิ่งปรารถนา และขออุทิศส่วนกุศลจากการสร้างหนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก คาถาชินบัญชรและรวบรวมคาถาของพระเกจิอาจารย์ทั้งหลาย   ซึ่งเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนานี้  ให้แก่เทพทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า  ๑๕ ชั้นดิน  บิดา มารดา  บรรพบุรุษ  ครูอาจารย์ผู้มีพระคุณ  ญาติสนิทมิตรสหาย  เจ้าที่เจ้าทาง เจ้ากรรมนายเวร  ทั้งอดีตชาติและปัจจุบันชาติ   ท่านพญายมราช  ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย  และดวงวิญญาณที่ไร้ญาติทั่วไป  ขอจงร่วมอนุโมทนาในบุญกุศลโดยถ้วนทั่วกัน เทอญ  
    
     
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก  ต้นฉบับเดิม
ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน  โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย  หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง)ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก
          มีคำกล่าวในหนังสือนำนั้นว่า ผู้ใดมียอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญ ฯลฯ
          ต่อมามีผู้นิยมสร้างหนังสือนี้ขึ้น โดยเชื่อว่าผู้ใดสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และสวดมนต์สักการะบูชาเป็นประจำ จะมีผลานิสงส์สุดที่จะพรรณ นาให้ทั่วถึงได้ นับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่  จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้า ตลอดทั้งบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้
          ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวว่า หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้ว  เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า  ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ  แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน  ก็ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก  ๑๐๐ ปี  อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง  ถึงแม้ว่า  อินทร์  พรหม  ยมยักษ์  ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์  ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก  อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้  และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกนานับปการ ฯ
          ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ-มิตรสหาย  หรือสวดจนครบ   ๗ วัน  ครบอายุปัจจุบันของตน
จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง  จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง ฯ
ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ  จะไม่มีบาปกรรม  ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา  สวดวันละเจ็ดจบ  กระดูกลอยน้ำได้
      
     
พิธีไหว้พระ และสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
ก่อนเข้าห้องบูชาพระ   ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย  เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ  ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ  ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา  ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร
จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน  แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป  ๓  ดอก  เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน  พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย  นมัสการพระรัตนตรัย  นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ  แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก  จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น  จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต  พึงทราบด้วยว่า  การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร  ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์  จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น  จะเกิดโทษแก่ตนเอง
  ยิ่ง    ทำ    ยิ่ง    ได้             ยิ่ง    ให้      ยิ่ง      มี 
 
    
     
อานิสงส์การสร้างและสวด
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นธรรมทาน
     โบราณท่านว่า  ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว  ท่านว่าเป็นบุญตัวอันประเสริฐนัก  เมื่อพบแล้วให้พยายามท่องบ่นสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต  จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก  แล้วก็จะไปยังเกิดในสัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้
     ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น  จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา  มารดา  หรือครูบาอาจารย์  อุปัชฌาย์  ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว  ให้เขียน  จิ  เจ  รุ  นิ  และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง  เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ  และกรวดน้ำโดยคารวะ  บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้น ได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง
      - ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร
      - กิจการงานเจริญรุ่งเรือง  อุดมด้วยโภคทรัพย์
     - ผู้ใดอุทิศบุญกุศล อันเกิดจากการสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ให้  ปู่ย่า  ตา  ยาย  บิดา  มารดา ฯ  บุตร  หลาน  ที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง 
      - บิดา  มารดา  จะมีอายุยืน
      - สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน บุตรหลานเป็นคนดี
      - ปฏิสนธิวิญญาณบุตร เกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี
      - วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ
      - เสริมบุญบารมีให้ตนเอง
      - แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ
      - เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปสู่สุคติภูมิ
     ขอตั้งสัตยาธิษฐาน ขอความเจริญรุ่งเรือง จงบังเกิดแก่ท่านผู้สร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้  เพื่อความงอกงามในพระบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.
 คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ   สักกาเรหิ ,  ตัง   ภะคะวันตัง  อะภิปูชะยามิ
โย  โส  สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ  สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ 
คำนมัสการพระรัตนตรัย
     อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ         (กราบ ๑ หน)
     สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม
ธัมมัง  นะมัสสามิ                        (กราบ  ๑  หน)
     สุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
สังฆัง  นะมามิ                           (กราบ ๑  หน)  
คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คำนมัสการไตรสรณคมน์
พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ       พุทธัง            สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ       ธัมมัง            สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ       สังฆัง            สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ     พุทธัง            สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ     ธัมมัง            สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ     สังฆัง            สะระณัง  คัจฉามิ 
คำนมัสการพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ 
    
               อิติปิ   โส  ภะคะวา  อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต   โลกะวิทู  อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสามระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ     
               สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ     
               สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ   ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ    ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลี  กะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ  ฯ     
     
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม
   
๑.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  วะตะ  โส  ภะคะวา.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  สัมมาสัมพุทโธ  วะตะ  โส  ภะคะวา.
อิติปิ  โส  ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน  วะตะ  โส ภะคะวา.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  สุคะโต  วะตะ  โส  ภะคะวา.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  โลกะวิทู  วะตะ โส  ภะคะวา .
อะระหันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
อะระหันตัง  สิระสา  นะมามิ.
สัมมาสัมพุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
สัมมาสัมพุทธัง  สิระสา  นะมามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง  สิระสา  นะมามิ.
สุคะตัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
สุคะตัง  สิระสา  นะมามิ.
โลกะวิทัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
โลกะวิทัง  สิระสา  นะมามิ.  
๒.  
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ  โส  ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส  ภะคะวา.
อิติปิ  โส  ภะคะวา สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  วะตะ โส  ภะคะวา.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  พุทโธ  วะตะ  โส  ภะคะวา.
อะนุตตะรัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
อะนุตตะรัง  สิระสา  นะมามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ  สะระณัง  คัจฉามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ  สิระสา  นะมามิ.
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง   สะระณัง  คัจฉามิ.
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  สิระสา  นะมามิ.
พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
พุทธัง  สิระสา  นะมามิ.  อิติปิ  โส  ภะคะวา  ฯ
 
๓. 
อิติปิ  โส  ภะคะวา  รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ-ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะ-ณะปาระมิ  จะ  สัมปันโน.
อิติปิ   โส  ภะคะวา   สัญญาขันโธ    อะนิจจะ-ลักขะณะ    ปาระมิ  จะ  สัมปันโน.
อิติปิ  โส   ภะคะวา   สังขาระขันโธ   อะนิจจะ-ลักขะณะปารมิ     จะ  สัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา   วิญญาณะขันโธ    อะนิจจะ-ลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน.
 
๔.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา เตโชธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา วาโยธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
 
๕.
อิติปิ  โส  ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  ยามาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  กามาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา อะรูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา โลกุตตะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. 
 
๖.
อิติปิ  โส  ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุสะมาธิ-ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปัญจะมะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. 
    
 
๗.
อิติปิ  โส   ภะคะวา    อากาสานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ   โส   ภะคะวา   วิญญานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
 
๘.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  โสตาปัตติมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา  สะกิทาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะนาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัตตะมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  โสตาปัตติผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  สะกิทาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะนาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัตตะผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. 
 
๙.
กุสะลา ธัมมา  อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง   พุทธัง  สะระณัง   คัจฉามิ   ชัมพู  ทีปัญจะ   อิสสะโร   กุสะลา  ธัมมา  นะโม  พุทธายะ
นะโม  ธัมมายะ  นะโม  สังฆายะ  ปัญจะ  พุทธา  นะมามิหัง  อา ปา  มะ  จุ  ปะ,  ที  มะ  สัง  อัง  ขุ, สัง  วิ  ธา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ, อุปะสะชะสะเห  ปาสายะโส  ฯ
โส  โส  สะ  สะ  อะ  อะ  อะ  อะ   นิ  เต  ชะ  สุ  เน  มะ  ภู  จะ
นา วิ เว,อะ สัง  วิ  สุ  โล  ปุ  สะ  พุ  ภะ, อิสวาสุ, สุสวาอิ กุสะลา ธัมมา  จิตติวิอัตถิ.
  
๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ  สาโพธิปัญ จะ  อิสสะโร  ธัมมา.
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน  ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ  วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ  ยาวะชีวัง พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ตาวะติงสา  อิสสะโร กุสะลา ธัมมา  นันทะ  ปัญจะ  สุคะโต  โลกะวิทู  มะหาเอโอ  ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ยามา  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา  พรหมาสัททะ   ปัญจะสัตตะ    สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง  พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ.
ตุสิตา อิสสะโร  กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ  ปุริสะทัมมะสาระถิ  ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
นิมมานะระตี  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา  เหตุโปวะ   สัตถา  เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี  อิสสะโร  กุสะลา ธัมมา  สังขาระขันโธ  ทุกขัง ภะคะวะตา  ยาวะ นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ  ฯ
พรหมา   อิสสะโร  กุสะลา   ธัมมา  นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ  ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง  สะระณัง คัจฉามิ. 
   
๑๑. นะโม  พุทธัสสะ นะโม  ธัมมัสสะ นะโม  สังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา  กะระกะนา  เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหนตุ  หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
นะโม พุทธัสสะ  นะโม ธัมมัสสะ  นะโม สังฆัสสะ วิตติ  วิตติ   วิตติ  มิตติ  มิตติ  มิตติ  จิตติ  จิตติ  วัตติ  วัตติ มะยะสุ  สุวัตถิ  โหนตุ  หุลู  หุลู  หุลู  สะวาหายะ.
อินทะสาวัง    มะหาอินทะสาวัง  พรหมะสาวัง   มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติ-สาวัง  เทวาสาวัง   มะหาเทวาสาวัง  อิสีสาวัง  มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง  สัปปุริสะสาวัง  มหาสัปปุริสะสาวัง     พุทธะสาวัง   ปัจเจกะพุทธะสาวัง  อะระหัตตะสาวัง  สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง  สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง  เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหนตุ.
      สาวัง    คุณัง   วะชะ    พะลัง  เตชัง  วิริยัง  สิทธิกัมมัง  ธัมมัง  สัจจัง  นิพพานัง    โมกขัง  คุยหะกัง  ทานัง  สีลัง  ปัญญา  นิกขัง  ปุญญัง  ภาคะยัง  ยะสัง  ตัปปัง  สุขัง  สิริ  รูปัง  จะตุวีสะติเทสะนัง  เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหนตุ  หุลู  หุลู  หุลู  สะวาหายะ  ฯ  
  
๑๒.  นะโม    พุทธัสสะ  ทุกขัง    อะนิจจัง   อะนัตตา  รูปะขันโธ  เวทะนาขันโธ   สัญญาขันโธ  สังขาระขันโธ    วิญญาณะขันโธ  นะโม   อิติปิโส  ภะคะวา.
นะโม  ธัมมัสสะ  ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา รูปะ-ขันโธ  เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ    สังขาระขันโธ      วิญญาณะขันโธ   นะโม   สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม.  สัญญาขันโธ  สังขาระขันโธ  วิญญาณะขันโธ  นะโม  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  วาหะปะริตตัง.
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัต-ตา  อุอะมะอะ  วันทา
นะโม   สังฆัสสะ   ทุกขัง    อะนิจจัง   อะนัตตา    รูปะขันโธ  เวทะนาขันโธ
นะโม   พุทธายะ   นะอะกะติ     นิสะระณะ    อาระปะขุทธัง    มะอะอุ  ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา ฯ  
  
 
คำกรวดน้ำ ของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก   
อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ  ด้วยเดชะผลบุญของข้าพเจ้า ได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้  ขอให้ค้ำชู อุดหนุน  คุณบิดามารดา  พระมหากษัตริย์  ผู้มีพระคุณ  ญาติกา  ครู  อุปัชฌาย์  อาจารย์  เจ้ากรรมนายเวร  มิตรรักสนิท เพื่อนสรรพสัตว์น้อยใหญ่  พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี  แม่พระคงคา  แม่พระโพสพ  พญายมราช  นายนิริยบาล   ท้าวจะตุโลกะบาลทั้งสี่  ศิริคุตอำมาตย์  ชั้นจาตุมมะหาราชิกาเบื้องบน   สูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม  และเบื้องล่างต่ำสุด  ตั้งแต่โลกันตมหานรกและอเวจีขึ้นมา  จนถึงโลกมนุษย์  สุดรอบขอบจักรวาล  อนันตจักรวาล  คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดาทั้งหลาย  ตลอดทั้งอินทร์  พรหม  ยมยักษ์  คนธรรพ์  นาคา  พระเพลิง  พระพาย  พระพิรุณ  ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์  ท่านทั้งหลายที่ได้สุขขอให้ได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้  จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน  และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ  ฯ           
พุทธัง  อะนันตัง  ธัมมัง จักกะวาลัง  สังฆัง  นิพพานะปัจจะโย  โหนตุ.
โบราณว่าผู้ใดสร้างบุญกุศลและได้สวดภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นประจำจะมีอานิสงส์มาก  เมื่อป่วยหนักให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย  ครั้นกำลังจะสิ้นใจผู้อยู่ใกล้บอกนำว่า  อะระหัง  หรือ  พุทโธ  เรื่อย ๆ เมื่อถึงแก่กรรม  จงเขียน จิ.  เจ.  รุ.  นิ.  บนแผ่นทองหรือแผ่นเงิน ใบลาน,  กระดาษ  แล้วม้วนเป็นตะกรุด (ห้ามคลี่)  ใส่ปากให้ไปสู่สุคติในสัมปรายภพสวรรค์ด้วย
   
อานิสงส์การสวดและภาวนา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
 
         ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์  ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าคำ  เพื่อความสวัสดีเป็นสิริมงคลแก่ผู้สาธยาย  อันเป็นบ่อเกิด  มหาเตชัง  มีเดชมาก  มหานุภาวัง  มีอานุภาพมาก  และมีลาภยศ  สุขสรรเสริญ  ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย  อุปัทวันตราย  และความพินาศทั้งปวง  ตลอดทั้งหมู่มารร้ายและศัตรูคู่อาฆาตไม่อาจแผ้วพานได้
          อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  เป็นต้น  ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้วจะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า  เป็นการเจริญพระพุทธานุสติ วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย 
          อะระหันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ  เป็นต้น  เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว  เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า  หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชรคอยปกป้องคุ้มครองรักษาชีวิตให้ปราศจากเวรภัย
          อิติปิโส  ภะคะวา  รูปะขันโธ  เป็นต้น  เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว  ขออาราธนาบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเราเพื่อให้เกิดพระไตรลักษณญาน  อันเป็นทางของพระนิพพานสืบต่อไป
อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณสัมปันโน  เป็นต้น  เมื่อสาธยายหรือภาวนา ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ  ในจักรวาล  ในเทวโลกหรือในกามาวจรภูมิ  รูปาวจรภูมิ  อรูปาวจรภูมิ  และในโลกุตรภูมิ  ขอจงมาบังเกิดในขันธสันดานของข้าพเจ้าหรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา  อันเป็นบ่อเกิดแห่งรูปฌาน  อรูปฌาน  อภิญญา  เป็นการเจริญวิปัสสนา  อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรคผลนิพพาน  เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ
กุสลา  ธัมมา  อิติปิโส  ภะคะวา  เป็นต้น  เป็นการสาธยายหัวใจพระวินัยปิฎก  หัวใจพระสุตตันตปิฎก  หัวใจพระอภิธรรมปิฎก  และเป็นหัวใจพระเจ้า  ๕๐๐  ชาติ  พระเจ้า  ๑๐  ชาติ  และหัวใจ  อิติปิ  โส  ตลอดทั้งหัวใจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก  เมื่อภาวนาแล้วจะนำลาภ  ยศ  ฐาบรรดาศักดิ์ ทั้ง  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ และจะป้องกันสรรพภัย ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป
อินทะสาวัง  มหาอินทะสาวัง  เป็นต้น  เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้วมีทั้งอำนาจ  ตบะ  เดชะ  ความสุข  ความเจริญรุ่งเรืองทุกประการ
พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายต่างก็กล่าวเน้นว่า  พระพุทธศาสนาเป็นของจริงของแท้ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้  ยิ่งมีการปฏิบัติธรรมทั้งทาน  ศีล  ภาวนา  สม่ำเสมอความสุขความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่  อย่าสงสัย  การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ก่ออานิสงส์ ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล  ซึ่งจะบังเกิดความสุขความเจริญในปัจจุบัน และตามติดวิญญาณไปทุกภพทุกชาติด้วย
ฉะนั้น ชาวพุทธทั้งหลาย  จงเจริญภาวนา  ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกทุกเช้าค่ำเถิด  จะบังเกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนและครอบครัว  ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้า  
อาราธนาพระปริตร

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะ
ทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพา
หายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ
ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัต
ติสิทธิยา สัพพะโรคะ- วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง ฯ

 

 

 

 

วัดบางโพโอมาวาส เลขที่ ๙๐ ถนนประชาราษฏร์สาย ๑ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ๑๐๘๐๐
ติดต่อ โทร. ๐-๒๙๑๒-๗๔๗๖ , ๐-๒๕๘๗-๑๖๕๔ , โทรสาร ๐๘๙-๕๑๔-๗๘๘๙
ผู้ดูแลเว็บ อีเมล์ : vatbang@gmail.com
 Copyright © 2010 watbangpho All Right Reserved
Free Web Hosting